ธุรกิจโรงแรมบนพื้นที่เขาใหญ่ อาศัยแรงงานในพื้นที่ การสับเปลี่ยนหมุนเวียนของแรงงานมักเกิดขึ้นอยู่เสมอเป็นไปตามฤดูกาลท่องเที่ยว พนักงานเข้า-ออกบ่อย ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานจึงมีน้อย ทุกคนมาทำงานตามหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบเพื่อเลี้ยงชีพให้อยู่รอด จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการลูกค้า The Pandora Camp รีสอร์ทหรูสไตล์แคมป์ปิ้ง อีกหนึ่ง Landmark มีสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ เปิดตัวเมื่อปลายปี 2565 ก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน ความท้าทาย (Key challenge) เมื่อได้รับโจทย์จากผู้ประกอบการ สิ่งแรกที่ทีมงานออกแบบ Workshop สังเกตเห็นปัญหาเร่งด่วนคือการฟื้นคืนความสัมพันธ์ของทีมงาน สร้าง Teamwork และเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดการพูดคุยกับพนักงานทุกคนทุกระดับ สิ่งที่เราทำ (What we do) การเริ่มต้นสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Psychological Safety) ให้เกิดขึ้นในองค์กร เชื่อมโยงทุกคนไว้ด้วยความเป็นมนุษย์ สร้างสถานการณ์จำลองให้ทุกคนเผชิญปัญหาทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าและความสำคัญของทุกบทบาทหน้าที่ เปิดพื้นที่การรับฟังให้พนักงานทุกคนได้ส่งเสียงบอกเล่าถึงความท้าทายที่ต้องเผชิญในการทำงาน ทำให้ทุกคนเห็นปัญหาบนกระดานเดียวกัน เห็นเป้าหมายเดียวกัน …
ภาวะผู้นำที่ส่งเสริม สุขภาวะที่ดีทางจิต การสอนงานและการโค้ชที่ใช้พื้นฐานวิชาจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรม กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นองค์กรด้านการพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการใช้กระบวนการยุติธรรมและมาตรการอื่นๆ ในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัวจนถึงความเข้มแข็งของชุมชน ปัจจุบันองค์กรจึงมีบุคลากรหลายสาขาวิชีพที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่ พนักงานคุมประพฤติ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา/นักจิตวิทยาคลินิก นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ นักจัดการงานทั่วไป และนักวิชาการเงินและบัญชี หลากหลายระดับ บุคคลเหล่านี้ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งมีความเปราะบาง ซับซ้อน ในบางครั้งต้องอาศัยพลังกายและพลังใจเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัญหาของเด็กและเยาวชนให้ได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องความแตกต่างทางด้านช่วงวัย (Generation Gap) ที่ทำให้การเรียนรู้งานของพนักงานที่มีช่วงวัยต่างกันเริ่มมีความหลายหลาย ผู้บริหารจึงเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาวะกายใจและคาดหวังให้บุคลากรมีทักษะการโค้ชและการสอนงาน (Coaching & Mentoring) สำหรับใช้กับทีมงานและผู้อยู่ภายใต้การดูแลที่มีความหลากหลายด้านรุ่นอายุ จึงเป็นที่มาของการจัดอบรมในครั้งนี้ ความท้าทายของ Eramind (Key challenge): การออกแบบเนื้อหา Workshop ให้ผู้เข้าร่วมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และหลากหลายสาขาวิชาชีพ : …
PERMA จิตวิทยาเชิงบวกกับการฟื้นพลังใจให้บุคลากรผู้ดูแลผู้พิการทางสายตา สถานการณ์โควิดทำให้หลายอย่างหยุดชะงัก การดูแลป้องกันโรคในมาตรการที่เข้มข้น การลดต้นทุนและลดการใช้จ่ายของภาคองค์กรและภาคประชาชน ส่งผลกระทบมายังองค์กรที่ทำงานด้านสาธารณกุศลต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่บีบคั้นด้วยเงินบริจาคที่ลดลง แต่ภารกิจของการดูแลผู้การทางสายตาและผู้พิการซ้ำซ้อนของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังคงเดินหน้าต่อไป เพราะมีเด็กๆ นักเรียนตาบอด เด็กพิการซับซ้อนอีกหลายชีวิตทั่วประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การดูแล ภารกิจของครูและผู้ดูแลย่อมมีความเครียด ความกังวล ความกดดันในสถานการณ์ที่โควิดทำให้ทุกอย่างหยุดนิ่ง การดูแลสภาพจิตใจของผู้ดูแล (Care Givers) ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสุขภาวะกายใจที่ดี ย่อมส่งผลไปยังคุณภาพของการดูแลเด็กในมูลนิธิฯ ภายหลังสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้น ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ จึงเห็นความสำคัญของการฟื้นคืนสุขภาวะกายใจอยากเห็นบุคลากรมีเครื่องมือไว้ใช้ดูแลจิตใจตนเองได้ Eramind จึงเข้ามาช่วยรับโจทย์ในครั้งนี้ ความท้าทายของ Eramind (Key challenge): การออกแบบเนื้อหา Workshop : การทำให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตย่อยง่าย นำไปใช้ได้จริงกับบุคลากรทุกระดับตั้งแต่แม่บ้านทำอาหาร บุคลากรสายสนับสนุน จนถึงครูและคณะผู้บริหารของมูลนิธิฯ รูปแบบการเรียนรู้ : การออกแบบการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้พิการทางสายตา …
บริษัทสยามคอมเพรสเซอร์ อุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์ระบบโรตารี่รายแรกของประเทศไทย เห็นความสำคัญกับการสร้าง Psychological Well Being ให้กับพนักงานสายการผลิต เพราะโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบการผลิต วิธีการคิด การทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ หากผู้นำไม่สามารถสร้างความตระหนักรู้ให้ตนเอง ไม่มีเครื่องมือในการดูแลจิตใจตนเองได้ ย่อมสร้างผลกระทบต่อบุคคลที่อยู่รอบข้าง เพราะหัวหน้าคือหนึ่งในสิ่งแวดล้อมของพนักงาน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางบริษัทฯ จึงมีความต้องการพัฒนาบุคลากรให้มือเครื่องมือสร้างความยืดหยุ่นภายใจจิตใจ (Resilience) ทำให้เกิดพฤติกรรมการทำงานและการแสดงออกที่ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย (Psychological Safety) ให้กับทีมงานและองค์กร เมื่อพนักงานมีพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ ย่อมส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อทีมงาน และองค์กรได้ สิ่งที่เราทำ (What we do): ประเมินผลสุขภาพจิตใจในระดับพื้นฐาน จะเป็นจุดอ้างอิงในประเมินสุขภาพจิตใจก่อนการอบรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ เห็นความสำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลงตนเอง ทำความเข้าใจเรื่องตัวกวน (Interference) ในตนเองย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง …